ประเภทเครื่องปรับอากาศ
สาระน่ารู้
1.วิธีคำนวณ เลือกbtuของแอร์
บีทียู (Btu : British Thermal Unit) คือ หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อนหน่วยหนึ่ง (ซึ่งเป็นที่นิยมใช้มากในระบบปรับอากาศ) โดยความร้อน 1 Btu คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์มีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮด์ สำหรับเครื่องปรับอากาศนั้นจะวัดกำลังความเย็นหรือความสามารถในการถ่ายเท ความร้อนออกจากห้องปรับอากาศในหน่วยบีทียูต่อชั่วโมง (Btu/h) เช่น เครื่องปรับอากาศขนาด 12000 (Btu/h) หมายความว่า เครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นมีความสามารถในการดึงความร้อนออกจากห้องปรับ อากาศ 12000 Btu ภายใน 1 ชม. แต่โดยทั่วไปในท้องตลาดมักใช้คำว่าบีทียูต่อชั่วโมง
การคำนวน BTU ของเครื่องปรับอากาศ
BTU = พื้นที่ห้อง (กว้าง x ยาว) x ตัวแปร
ตัวแปรความร้อนแบ่งได้ 2 ระดับ
700 คือห้องที่มีความร้อนน้อย ใช้เฉพาะเวลากลางคืน
800 คือห้องที่มีความร้อนสูง ใช้กลางวันมาก กรณีเพดานสูงกว่า 2.5 เมตร ให้บวกเพิ่มจากเดิม 5%
2.ประเภทของเครื่องปรับอากาศ
-ทำไมต้องเลือกบีทียู(ขนาดความเย็นของเครื่องปรับอากาศ)ให้พอดี
-การติดตั้งใช้งานและบำรุงรักษา -เครื่องปรับอากาศ
– ความรู้เบื้องต้นของ การ ออกแบบระบบปรับอากาศ (Basics)
– ชิลเลอร์คืออะไร
เครื่องปรับอากาศแบ่งประเภทออกตามลักษณะการใช้งานซึ่งจะแตกต่างกันไปดังนั้นเราควรเลือกเครื่องปรับอากาศ ที่มีราคาเหมาะสมกับคุณภาพและความต้องการใช้งานและได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)
1. เครื่องปรับอากาศแบบติดผนัง (Wall Type)
เป็นเครื่องปรับอากาศที่มีรูปแบบกะทัดรัด เหมาะสำหรับห้อง
ที่มีพื้นที่น้อย เช่นห้องนอน ห้องนั่งเล่น หรือห้องรับแขกที่มีขนาดเล็ก
แบบติดผนัง | จุดเด่น | ข้อจำกัด |
ขนาด 12,000 – 60,000 BTU |
* ทำงานเงียบ * รูปทรงสวยงาม ทันสมัย * ใช้พื้นที่น้อย |
* การติดตั้งจำกัดเฉพาะติดตั้งที่ผนังเท่านั้น * การกระจายและแรงลมน้อยกว่าแบบตั้งพื้น และแขวนเพดาน * ไม่เหมาะกับสถานที่ประเภทร้านอาหาร เนื่องจากแผงคอยล์เย็นมีขนาดเล็กส่งผลให้ คอยล์สกปรกและอุดตันง่าย |
2. เครื่องปรับอากาศแบบตั้งพื้น/แขวนใต้ฝ้า (Floor or Ceiling Type)
เป็นเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสำหรับ ห้องที่มีพื้นที่น้อยไปจนถึงห้องที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น สำนักงาน ห้องประชุม ห้องอาหาร
แบบตั้งพื้น/แขวนใต้ฝ้า | จุดเด่น | ข้อจำกัด |
ขนาด 12,000 – 60,000 BTU |
* กระจายลมเย็นได้ดี * สามารถติดตั้งได้ดีในห้องที่มีเพดานสูง เกินกว่ามาตราฐานและห้องที่เป็นห้อง กระจก * สามารถเลือกที่จะติดตั้งได้ทั้งแบบตั้ง พื้นและแขวนเพดานในห้อง |
* มีฟังก์ชั่นให้เลือกน้อย * รูปทรงขนาดใหญ่ * ใช้พื้นที่ติดตั้งมาก * ทำงานเสียงดังกว่าแบบติดผนัง |
3. เครื่องปรับอากาศแบบตู้ตั้งพื้น (Floor or Ceiling Type)
เป็นเครื่องปรับอากาศที่มีลักษณะคล้ายตู้ มีขนาดสูง มีกำลังลมแรง เหมาะกับบริเวณที่มี คนเข้าออกตลอดเวลา เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร บู๊ทแสดงสินค้าชั่วคราว
แบบตู้ตั้งพื้น | จุดเด่น | ข้อจำกัด |
ขนาด 36,000 – 150,000 BTU |
* ติดตั้งง่าย สามารถตั้งกับพื้นได้เลย ไม่ ต้องทำการยึดติด * ทำความเย็นได้เร็วเนื่องจากให้กำลัง ลมที่แรงกว่า |
* เสียพื้นที่ใช้สอย * มีเสียงดัง |
4. เครื่องปรับอากาศแบบฝังฝ้าเพดาน (Cassette Type / Built-in Type)
เป็นเครื่องปรับอากาศที่เน้นความ สวยงามโดยการซ่อนหรือฝังเครื่องอยู่ในฝ้าเพดาน จึงทำให้เห็นตัวคอยล์เย็นน้อยที่สุด
แบบฝังฝ้าเพดาน | จุดเด่น | ข้อจำกัด |
ขนาด 19,000 – 52,000 BTU |
* สวยงาม ฝังเรียบไว้กับเพดานห้อง * ไม่เสียพื้นที่ใช้สอย |
* บำรุงรักษายาก * ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูง * ใช้พื้นที่ในการติดตั้งคอยล์ร้อนมาก |
5. เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนซ่อนในฝ้าเพดาน (Ducted Conceal Spilt Type)
เป็นเครื่องปรับอากาศที่ นิยมใช้กับบ้านขนาดใหญ่ เน้นความสวยงาม เนื่องจากติดตั้งตัวเครื่องไว้ในฝ้าเพดานและทำการต่อท่อส่งลมเพื่อส่งลมออกมา ทางหัวจ่าย ซึ่งจะไม่เห็นตัวเครื่อง แต่มีข้อเสียในเรื่องของที่ตั้งคอยล์ร้อนเนื่องจากต้องใช้เครื่องเป็นจำนวนมาก ทำให้ดู ไม่สวยงาม และมีข้อจำกัดในเรื่องความยาวของท่อน้ำยา
แบบแยกส่วนซ่อนในฝ้าเพดาน | จุดเด่น | ข้อจำกัด |
ขนาด 19,000 – 52,000 BTU |
* สวยงาม ฝังเรียบไว้กับเพดานห้อง * ไม่เสียพื้นที่ใช้สอย |
* บำรุงรักษายาก * ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูง * ใช้พื้นที่ในการติดตั้งคอยล์ร้อนมาก |
6. แอร์ชิลเลอร์ (Chiller Air)
เป็นเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ ทำหน้าทีในการผลิตน้ำเย็นหรือปรับอุณหภูมิ น้ำเย็นและส่งไปยังเครื่องปรับอากาศที่มีอยู่ในห้องต่างๆ ของอาคารแต่ละอาคาร หลักการทำงานของ Chiller คือ จะนำสารทำความ
เย็น (ก๊าซเย็นความดันต่ำ) โดยอยู่ในสภาวะไออิ่มตัวมาอัดที่ตัวCompressor จากนั้นสารทำความเย็นจะถูกอัดโดยเครื่องอัด จนมี สภาวะเป็นไอร้อน (Superheated Vapor) มีความดันสูงและอุณหภูมิสูง หลังจากนั้นสารทำความเย็นจะเคลื่อนที่ผ่านเข้าไปใน เครื่องควบแน่น (Condenser)เพื่อ ถ่ายเทความร้อนออกทำให้สารทำความเย็นเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวอิ่มตัวที่มี ความดันสูง จากนั้นของเหลวอิ่มตัวความดันสูงจะเคลื่อนที่ผ่านอุปกรณ์ขยายตัว (อุปกรณ์ลดแรงดัน) สารทำความเย็นจะมี 2 สถานะ คือ ของ เหลวและก๊าซที่มีอุณหภูมิต่ำและความดันต่ำ หลังจากนั้นจะผ่านเข้าไปในเครื่องระเหย (Evaporator) ทำให้สารทำความเย็นรับ ความร้อนจากการโหลดนั้นๆ และกลายสภาพเป็นไออิ่มตัว ซึ่งวัฏจักรการทำความเย็นจะดำเนินเช่นนี้ซ้ำไปเรื่อยๆ หมุนเวียน เป็นวงจรเช่นนี้ตลอดเวลา จึงทำให้ Chiller สามารถผลิตน้ำเย็นได้อย่างต่อเนื่อง จึงสามารถส่งน้ำเย็นนี้ไปจ่ายให้เครื่องปรับอากาศ ที่อยู่ตามอาคารต่างๆ ที่ไกลจากเครื่อง Chiller ได้ซึ่งเครื่อง Chiller เป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของระบบปรับอากาศทั้งหมดที่ใช้พลังงาน สูงมากถึง 52 % ดังนั้น เครื่องปรับอากาศแบบชิลเลอร์จึงเหมาะกับอาคารสำนักงานที่มีขนาดใหญ่ โรงแรม
แอร์ชิลเลอร์ | จุดเด่น | ข้อจำกัด |
* ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งคอยล์ร้อย * ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว * บำรุงรักษาง่าย |
* ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูง |
ค่าใช้จ่ายหรือพลังงานในการใช้งาน
คือค่าไฟฟ้าที่เกิดจากการที่เครื่องปรับอากาศนั้นๆกินไฟมากน้อยเท่าใด ปกติแล้ว เครื่องปรับอากาศทั่วไป จะมีแผ่น ป้ายบอกปริมาณการใช้ไฟฟ้า (วัตต์) และเครื่องปรับอากาศที่ดีจะได้รับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
คุณสมบัติพิเศษต่างๆและดีไซน์ของเครื่องปรับอากาศ
เช่นฟิลเตอร์กรองอากาศ, ระดับความแรงของลม, การปรับทิศทางลม, การตั้งเวลา ตลอดจนการออกแบบ ที่เหมาะสมกับการใช้งาน
ชนิดการกรอง | คุณสมบัติ | อายุการใช้งาน | การทำความ |
สะอาด | |||
กรองหยาบ | กรองฝุ่นขนาดกลางถึงใหญ่รูปร่างมีขนาดใหญ่ ครอบคลุมทั่วแผงคอยล์เย็น วัสดุทำจากพลาสติก |
ตลอดอายุการใช้งาน | ล้างน้ำได้ |
กรองละเอียด | กรองฝุ่นขนาดเล็ก บางยี่ห้อจะสามารถดักจับ เชื้อ แบคทีเรีย หรือเชื้อราได้ |
ประมาณ 3-6 เดือน | ไม่สามารถล้างน้ำได้ |
กรองกลิ่น | ส่วนใหญ่จะทำมาจากคาร์บอนหรือผงถ่าน จึง สามารถกรองกลิ่น บางยี่ห้อสามารถยับยั้งการ เจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้ |
ประมาณ 3-6 เดือน | ไม่สามารถล้างน้ำได้ |
กรองแบบไฟฟ้าสถิต | สามารถดึงดูดและกำจัดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้ | ตลอดอายุการใช้งาน | ไม่สามารถล้างน้ำได้ |
*** เครื่องปรับอากาศที่มีระบบฟอกอากาศแบบไฟฟ้าสถิตย์จะยังคงมีแผ่นกรองอากาศแบบหยาบอยู่ เพื่อเป็นการกรองฝุ่น ขนาดใหญ่ก่อนที่จะผ่านระบบไฟฟ้าสถิตย์
ระบบอินเวอร์เตอร์ เพื่อการประหยัดพลังงาน
อินเวอร์เตอร์ คือ ระบบที่ควบคุมการปรับอากาศให้เป็นไปอย่างราบเรียบและคงที่ พร้อมประหยัดพลังงานด้วยการ ปรับระบบรอบการหมุนของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ มาใช้ความถี่ของกระแสไฟจ่ายให้กับมอเตอร์ อมเพรสเซอร์แทนการ ทำงานแบบ ติด-ดับ-ติด-ดับ ในเครื่องปรับอากาศแบบเก่า การทำงานของคอมเพรสเซอร์จะไม่มีการหยุด เนื่องจากระบบจะ ปรับกำลังในการทำความร้อนหรือทำความเย็นโดยอัตโนมัติ โดยให้กำลังสูงกว่าในช่วงเริ่มต้น ทำให้ห้องเย็นหรืออุ่น (สำหรับเครื่องที่มี Heater) ได้เร็วดังใจ
ความแตกต่างของแอร์ที่มีระบบ Inverter และแอร์ธรรมดา ที่ไม่มีระบบ Inverter
แอร์ธรรมดา | แอร์ที่มีระบบ Inverter |
1.สิ้นเปลืองไฟ เนื่องจากจะทำงานจนกว่าแอร์เย็นจนถึง ณหภูมิที่ตั้ง ไว้แล้วแอร์ก็จะหยุดทำงานและเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นระดับ Compressor ก็จะทำงานใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งการสตาร์ทตัวเองจะกินไฟมากกว่าช่วง Run ประมาณ 3-5 เท่า 2. จะเกิดเสียงทุกครั้งเมื่อระบบเริ่มการทำงานใหม่ |
1.ประหยัดไฟกว่า เนื่องจากคอมเพรสเซอร์แอร์สตาร์ทครั้งเดียวและจะทำงานอย่างต่อเนื่องโดยวิธีลดรอบการทำงาน 2.แอร์ทำงานเงียบเพราะเมื่ออุณหภูมิเย็นตามที่เราตั้งไว้รอบ คอมเพรสเซอร์แอร์จะต่ำ ทำให้เสียงเงียบ และจะไม่มีเสียงสตาร์ทตัวของคอมแอร์ตลอดระยะเวลาการใช้งาน |
การติดตั้งใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ การใช้เครื่องปรับอากาศให้เต็มประสิทธิภาพต้องคำนึงถึงการติดตั้งอย่างถูกวิธีและมี แผนการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ควรติดตั้งเครื่องปรับอากาศจากช่างผู้ชำนาญการเท่านั้น การติดตั้งที่ถูกต้อง และบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เครื่องทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ประหยัดพลังงาน และมีอายุการใช้งานยืนยาว หลักการติดตั้งเครื่องปรับอากาศห้องแบบต่างๆ
1. ห้องที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่ควรติดตั้งเครื่องปรับอากาศบริเวณกลางห้องเพราะจะทำให้การกระจายลมไม่ทั่วถึง.
2. กรณีที่ห้องยาวมากๆ ควรเปลี่ยนจากการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ BTU สูงๆ มาใช้ขนาด BTU ต่ำๆ เพื่อประหยัดพลังงาน โดยสามารถใช้คู่กับฉากกั้นห้อง เพื่อกำหนดพื้นที่ทำความเย็นของแต่ละจุด (เครื่อง) เพราะหากใช้ขนาด BTU สูง เพียงเครื่อง เดียวแต่มีคนใช้งานในห้องน้อย การเปิดให้ความเย็นเต็มที่จะไม่คุ้มค่า
3. ห้องมีความสูงหรือต่ำกว่ามาตรฐาน (2.5 ม.) ควรติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบแขวนเพดาน เพื่อให้กระจายลมเย็น สามารถกระจายได้ทั่วห้อง ไม่ควรติดแบบตั้งพื้นเพราะลมเย็นกระจายไม่ถึงด้านบน
4. บริเวณประตูห้อง ไม่ควรติดตั้งเครื่องปรับอากาศเหนือประตู หรือตรงข้ามประตู เพราะเมื่อเราเปิดประตู ความร้อนก็ จะเข้ามาในห้อง ซึ่งจะไปกระทบกับเซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิ ทำให้วัดอุณหภูมิผิด คอมเพรสเซอร์จะทำงาน ตลอดเวลาเพราะว่าห้องร้อนนั่นเอง
ข้อที่ควรคำนึงในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศนั้น เราควรติดตั้งโดยช่างผู้ชำนาญและวางในจุดที่กระจายความเย็นได้ดี คอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศควรตั้งไว้ในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทสะดวกและควรตั้งห่างจากผนังอย่างน้อย 15 ซม.
ความรู้เบื้องต้นของ การ ออกแบบระบบปรับอากาศ (Basics)
“การปรับอากาศ คือการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นของอากาศในบริเวณหนึ่งให้เป็นไปตามความต้องการ” โดยทั่วไปแล้ว การปรับอากาศ สามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งานได้เป็น 2 ประเภท
1. การปรับอากาศ เพื่อความเย็นสบายเป็นการปรับอากาศที่มุ่งส่งเสริมความเย็นสบาย และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ ผู้คนที่อาศัยหรือทำงานอยู่ในที่บริเวณนั้นๆ เช่น การปรับอากาศภายในบ้าน สำนักงาน ร้านอาหาร โรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ
2. การปรับอากาศ เพื่อการอุตสาหกรรม เป็นการปรับอากาศเพื่อควบคุมภาวะบรรยากาศในกระบวนการผลิต การทำงานวิจัย และการเก็บรักษาผลผลิตต่างๆ เช่น การปรับอากาศในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ โรงงานทอผ้า โรงงานผลิตอาหาร ฯลฯ ดังนั้น จึงต้องมีการเลือกระบบการปรับอากาศให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การใช้งาน ซึ่งในปัจจุบันการออกแบบระบบปรับอากาศ ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมีอยู่ 3 ระบบ โดยแบ่งตามลักษณะการส่งความเย็น
3. ระบบอากาศ ทั้งหมด (All-air system) คือระบบที่ส่งเฉพาะอากาศที่ถูกทำความเย็นแล้วไปยังบริเวณที่ต้องการปรับอากาศ ระบบปรับอากาศนี้เหมาะสำหรับระบบเล็กๆ เช่นบ้านพักอาศัย หรือสำนักงานขนาดเล็ก
4. ระบบน้ำทั้งหมด (All-water system) คือระบบที่ส่งเฉพาะน้ำที่ถูกทำความเย็นจากส่วนกลางไปยังบริเวณที่ต้องการปรับ อากาศแต่ละแห่ง ระบบปรับอากาศนี้เหมาะกับการใช้งานในเชิงพาณิชย์เกือบทุกประเภท เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่า และใช้พื้น ที่ติดตั้งน้อยกว่าระบบอากาศล้วน
5. ระบบน้ำและอากาศ (Water-air system) คือระบบที่ส่งทั้งน้ำเย็นและอากาศจากส่วนกลางไปยังพื้นที่ปลายทางแต่ละห้อง โดยการนำเอาข้อดีของระบบน้ำที่สามารถนำพาความเย็นส่วนใหญ่ไปได้ดีกว่า และข้อดีของอากาศที่สามารถส่งด้วยความเร็ว สูงกว่า จึงทำให้ใช้เนื้อที่ปล่องและเพดานไม่มากนัก แต่ต้นทุนในการออกแบบระบบปรับอากาศของระบบนี้ค่อนข้างสูงเมื่อ เทียบกับระบบอื่นๆ
ความรู้พื้นฐาน การ ( ออกแบบระบบปรับอากาศ )
แนวความคิดของการปรับอากาศ
1. การควบคุมอุณหภูมิ – รักษาระดับความเย็น
2. การควบคุมความชื้น – รักษาระดับความชื้นสัมพัทธ์
3. การเคลื่อนไหวของอากาศ – การหมุนเวียนของอากาศ
4. ความสะอาดของอากาศ – การกรองอากาศ
5. การระบายอากาศ – การนำอากาศภายนอกเข้ามา
6. การควบคุมระดับเสียง – อุปกรณ์และลักษณะการติดตั้ง
การทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
การทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ อาศัยวิธีถ่ายเทความร้อนจากห้องที่ต้องการปรับอากาศออกไปทิ้งภายนอก โดยมีสารทำ ความเย็นหรือน้ำยาเป็นตัวกลาง ภาวะสบาย ระดับอุณหภูมิ , ความชื้น มาตรฐานทั่วไปที่ใช้ในการออกแบบคำนวณ ภาวะการปรับอากาศ คือ
* อุณหภูมิ = 24 ํ C (75 ํ F)
* ความชื้นสัมพัทธ์ = 55%
ในขณะที่สภาวะอากาศภายนอกทั่วไปที่ใช้ในการออกแบบ คือ
* อุณหภูมิ = 35 ํ C (95 ํ F)
* ความชื้นสัมพัทธ์ = 62%
ปัจจัยที่ใช้ในการออกแบบอาคารที่ส่งผลต่อ ( ระบบปรับอากาศ )
* ภูมิอากาศและสภาพอากาศ ทิศทางของลมโดยรอบบริเวณของอาคาร แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำ หรือมีอาคาร สูงบริเวณใกล้เคียง ซึ่งจะมีผลต่อการระบายความร้อนรอบๆ อาคาร
* รูปแบบของอาคารและการวางทิศทาง ควรออกแบบอาคาร ให้มีการระบายความร้อนได้ดี โดยหันทิศทางของอาคาร ในทิศทางที่ลมพัดผ่าน หรือออกแบบให้ใช้แสงธรรมชาติในการให้แสงสว่าง หรือให้หน้าต่างไม่ถูกแสงแดดโดยตรง
* คุณสมบัติของกรอบอาคาร กรอบอาคารนั้นรวมถึงผนังอาคาร หลังคา และหน้าต่างที่ประกอบกันเป็นตัวอาคาร ควรพิจารณาถึงการใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนป้องกันความร้อน
ประเภทของ ระบบปรับอากาศ แบ่งตามการถ่ายเทความร้อน
Conderser (คอยล์เย็น) Conderser (คอยล์เย็น) ระบายความร้อนด้วยลม ระบายความร้อนด้วยน้ำ Splittype Packaged Water Cooled ถ่ายเทความเย็นด้วยลม Window Type Split Water Cooled Packaged Air Cooled ถ่ายเทความเย็นด้วยน้ำ Air Cooled ChilLer Water Cooled ChilLer
ลักษณะการใช้งานของเครื่องปรับอากาศ
ประเภทเครื่องปรับอากาศ ขนาดทำความเย็น (ตัน) อายุการใช้งาน (ปี) การใช้งาน Small Sized Split Type 1-15 8 ห้องขนาดเล็กทั่วไป Medium Sized Split Type 16-50 10 ห้องขนาดกลาง Chiller 50 ขึ้นไป 15-20 อาคารขนาดใหญ่
ระบบปรับอากาศกับ งานสถาปัตยกรรมและตกแต่งภายใน
1. ช่องฝ้าเพดานสำหรับเดินท่อลม
2. ช่อง SHAFT สำหรับติดตั้งระบบท่อและไฟฟ้าระหว่างชั้น
3. ขนาดและความสูงของห้องเครื่องต่างๆ
4. การป้องกันเสียงและการสั่นสะเทือนของเครื่องปรับอากาศ
5. การป้องกันอัคคีภัยจากระบบปรับอากาศ
6. การรับน้ำหนักของอุปกรณ์ระบบปรับอากาศ
7. การจัดวางตำแหน่งรูปร่างของห้องและเครื่องปรับอากาศ
8. ลักษณะการตกแต่งฝ้าเพดาน และตำแหน่งของอุปกรณ์กระจายลม
9. ชนิดของวัสดุในงานตกแต่งที่ล้อมรอบเครื่องปรับอากาศ
ปัจจัยในการเลือกระบบปรับอากาศ
ปัจจัย Split Type WCP ACWC WCWC
ด้านเศรษฐกิจ 2,200 – 2,600 2,500 – 2,800 2,400 – 2,600 2,500 – 3,000
เงินลงทุนเริ่มต้น ( บาท/ตร.ม.) 1.50-1.6 1.35-1.45 1.48-1.55 1.15-1.20
ค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ( kw/tr ) 1.50% 1.50% 1% 1%
ค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษา ( % / ปี )
ลักษณะเฉพาะของระบบปรับอากาศแต่ละประเภท
โครงสร้างและส่วนประกอบต่างๆของระบบ ไม่ซับซ้อน ค่อนข้างซับซ้อน ซับซ้อน ซับซ้อน
การออกแบบและติดตั้ง ง่าย ค่อนข้างยาก ค่อนข้างยาก ยาก
การดูแลและควบคุมการใช้งาน & การบำรุงรักษา ง่าย ค่อนข้างยาก ค่อนข้างยาก ยาก
อายุการใช้งาน สั้น(5-7 ปี) ปานกลาง(10-15 ปี) นาน(15-20 ปี) นาน(15-20 ปี)
ความยืดหยุ่นต่อการปรับปรุงในอนาคต ยืดหยุ่นมาก ยืดหยุ่นน้อย ยืดหยุ่นน้อย ยืดหยุ่นน้อย
ช่วงการทำความเย็นที่เหมาะสม < 200 TR 100-300 TR 100-300 TR > 300 TR